รู้จัก “พืชแห่งความอมตะ” มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในไทยคือผักพื้นบ้านที่คุ้นเคย ขุมทรัพย์สุขภาพที่ซ่อนอยู่ตามป่าข้างทาง
ผักโขม (Amaranth) ผักพื้นบ้านที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน แม้จะถูกมองข้ามจากคนรุ่นใหม่ แต่ความจริงแล้วผักโขมคือแหล่งสารอาหารอันทรงคุณค่า จนได้รับฉายาว่า “พืชแห่งความอมตะ” สมัยกรีกโบราณ ผักโขม หรือ amaranth เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าผักโขมมีฤทธิ์ในการเยียวยา และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ มีการใช้ภาพของใบผักโขมในการประดับที่อยู่ของพระเจ้าและหลุมศพต่าง ๆ
ผักโขม (Amaranth) ในไทยมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วผักนั้นคือผักปวยเล้ง (spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏการใช้คำว่า spinach อย่างชัดเจน
ผักโขม เป็นผักที่ขึ้นได้ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง สวนผักผลไม้ของชาวไร่ชาวนา เป็นต้น ในบ้านเราผักโขมนั้นมีอยู่หลากหลายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารได้แก่ ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม เป็นต้น ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน)
สารอาหารสำคัญในผักโขม
ผักโขมอุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย ทั้งในใบและลำต้น เช่น
-
วิตามิน A, C, K, โฟเลต
-
แร่ธาตุ: แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, โพแทสเซียม, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัส, สังกะสี, ทองแดง, แมงกานีส
-
โปรตีนจากพืช พร้อมกรดอะมิโนไลซีน
-
ไฟเบอร์จากพืช
-
สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีฟีนอล ฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยานิน และแคโรทีน
ประโยชน์ของผักโขมต่อร่างกาย
1. บำรุงหัวใจ : โพแทสเซียมในผักโขมช่วยควบคุมความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือด
2. ควบคุมน้ำหนัก : แคลอรีต่ำ ไฟเบอร์สูง ช่วยให้อิ่มนาน ลดความอยากอาหาร และส่งเสริมการขับถ่าย
3. ป้องกันโลหิตจาง : มีธาตุเหล็กและวิตามิน C สูง ช่วยสร้างเฮโมโกลบิน ป้องกันโรคโลหิตจาง เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะในผู้หญิง พร้อมวิตามิน E และโฟเลตที่ช่วยชะลอวัย ทำให้ผิวชุ่มชื้น สดใส
4. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด : มีสารธรรมชาติที่ช่วยลดระดับน้ำตาล และเพิ่มความไวต่ออินซูลิน เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล
5. เสริมกระดูกให้แข็งแรง : อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามิน K ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน และช่วยบำรุงข้อ
6. ส่งเสริมระบบย่อยอาหาร : ไฟเบอร์ในผักโขมช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันท้องผูก ท้องอืด และปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้
7. ต้านอักเสบและมะเร็ง : โดยเฉพาะผักโขมแดงที่มีแอนโทไซยานิน ช่วยยับยั้งการกลายพันธุ์ของเซลล์ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง
8. บำรุงเหงือกและฟัน : แคลเซียมและวิตามิน C ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ฟัน และเหงือก ป้องกันฟันโยกหรือเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางโภชนาการ (ต่อ 100 กรัม)
-
แคลเซียม: 215 มิลลิกรัม (มากกว่านมวัว)
-
ธาตุเหล็ก: 4.6 – 8.5 มิลลิกรัม
-
โปรตีน: 1.9 – 2.6 กรัม (พร้อมกรดอะมิโนจำเป็น)
ข้อควรระวังในการรับประทานผักโขม
-
ผักโขมมีออกซาเลตสูง หากรับประทานมากเกินไป อาจก่อให้เกิดนิ่วในไต
-
ควรลวกหรือนึ่งก่อนนำไปปรุงอาหาร เพื่อลดปริมาณออกซาเลต
-
หลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกับอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เพราะอาจเกิดการตกตะกอน
-
ควรรับประทานภายในวันเดียว ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป
-
ผู้ที่มีอาการท้องเสีย ท้องอืด หรือม้ามอ่อน ควรหลีกเลี่ยง เพราะผักโขมมีฤทธิ์เย็น
ใส่ความเห็น