KUBET – เปิดอาชีพยอดนิยม “คนกัมพูชา” มาทำงานอะไรที่ “ไทย”

เปิด 11 อาชีพยอดนิยม แรงงานต่างด้าวกัมพูชา มาทำงานอะไรในประเทศไทย

แรงงานต่างด้าว หรือแรงงานข้ามชาติ เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยที่เรายังพึ่งพาต่อเนื่องทุกปี และจำนวนแรงงานต่างด้าวก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา และเวียดนาม)

ปัจจุบันประเทศไทยเปิดให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานภายใต้กรอบกฎหมาย คือ พระราชกำหนดการบริการจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561 รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถจำแนกประเภทของแรงงานต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในไทยได้ดังนี้

  1. คนต่างด้าวตลอดชีพ ได้แก่ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยและทำงานในประเทศไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
  2. คนต่างด้าวตามมาตรา 59 (ประเภททั่วไป) ได้แก่ ผู้ที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หรือได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยไม่ใช่ในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  3. คนต่างด้าวตามมาตรา 59 (ประเภทนำเข้าตาม MoU) ได้แก่ แรงงานสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่เข้ามาทำงานภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศคู่ภาคี
  4. คนต่างด้าวตามมาตรา 62 (ประเภทส่งเสริมการลงทุน) ได้แก่ ผู้ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520, พระราชบัญญัตินิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งครอบคลุมถึงนักลงทุน ช่างฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ
  5. คนต่างด้าวตามมาตรา 63/1 (ประเภทชนกลุ่มน้อย) ได้แก่ บุคคลที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และอยู่ระหว่างรอกระบวนการพิสูจน์สถานะ โดยกระทรวงมหาดไทยออกเอกสารเพื่อใช้ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน
  6. คนต่างด้าวตามมาตรา 64 ได้แก่ แรงงานสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานตามแนวชายแดนในลักษณะไป-กลับ หรือเข้ามาเป็นการชั่วคราวตามฤดูกาล ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
  7. คนต่างด้าวตามมาตรา 63/2 ได้แก่ แรงงานชาวกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมติคณะรัฐมนตรี เช่นมติวันที่ 24 กันยายน 2567 มติวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 รวมถึงกลุ่มแรงงานที่อยู่ระหว่างการต่ออายุจากมติเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 และ 3 ตุลาคม 2566 และแรงงานที่เคยมีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่ได้รับการขึ้นทะเบียนภายใต้มติดังกล่าว

ccbd5b0a5d7baf64856d3645121ea_1

ข้อมูลสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ระบุ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทย ณ เดือน พ.ค. 68 มีจำนวนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักรไทย รวมทั้งสิ้น 4,080,613 คน โดยในจำนวนนี้มีแรงงานกัมพูชารวมอยู่ด้วย โดย Sanook Money แยกออกมาให้เห็นชัดๆ ดังนี้

  • แรงงานกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตทำงานแบบไป-กลับหรือตามฤดูกาล จำนวน 22,297 คน
  • แรงงานกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตาม MOU จำนวน 183,704 คน
  • แรงงานกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติ 24 ก.ย. 67 (จดทะเบียนสถานะไม่ถูกกฎหมาย) จำนวน 109,892 คน
  • แรงงานกัมพูชา ซึ่งเป็นแรงงานตามมติ ครม. 24 ก.ย. 67 และมติ ครม. 4 ก.พ. 68 จำนวน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
    • แรงงานกัมพูชากลุ่มที่ได้รับอนุญาตทำงานแล้ว 130,395 คน
    • แรงงานกัมพูชากลุ่มที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 65,154 คน

เปิดอาชีพยอดนิยมคน “กัมพูชา” ทำงานอะไรในประเทศไทย

ccbd5b0a5d7baf64856d3645121ea

แรงงานกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตทำงานแบบไป-กลับหรือตามฤดูกาล จำนวน 22,297 คน จำแนกตามประเภทกิจการ ดังนี้

  • กิจการเกษตรและปศุสัตว์ จำนวน 13,288 คน
  • กิจการก่อสร้าง จำนวน 1,878 คน
  • กิจการต่อเนื่องการเกษตร จำนวน 1,349 คน
  • กิจการต่อเนื่องปศุสัตว์ จำนวน 20 คน
  • กิจการรีไซเคิล รับซื้อของเก่า คัดแยกขยะ จำนวน 143 คน
  • กิจการเหมืองแร่และเหมืองหิน จำนวน 3 คน
  • กิจการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโลหะ จำนวน 109 คน
  • กิจการผลิตหรือจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 534 คน
  • กิจการผลิตหรือจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง จำนวน 147 คน
  • กิจการแปรรูปหิน จำนวน 1 คน
  • กิจการผลิตหรือจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปฯ จำนวน 425 คน
  • กิจการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกฯ จำนวน 71 คน
  • กิจการผลิตหรือจําหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษ จำนวน 1 คน
  • กิจการผลิตหรือจําหน่ายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ จำนวน 60 คน
  • กิจการขนถ่ายสินค้าทางบก น้ำ คลังสินค้า จำนวน 16 คน
  • กิจการค้าส่ง ค้าปลีก แผงลอยในตลาดฯ จำนวน 1,133 คน
  • กิจการอู่ซ่อมรถ ล้าง อัด ฉีด จำนวน 16 คน
  • กิจการสถานีบริการน้ำมัน แก๊ส เชื้อเพลิง จำนวน 56 คน
  • กิจการสถานศึกษา มูลนิธิ สมาคม สถานพยาบาล จำนวน 1 คน
  • กิจการให้บริการต่างๆ ยกเว้นกิจการรับเหมาฯ จำนวน 2,838 คน
  • กิจการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 27 คน
  • งานบ้าน จำนวน 181 คน

แรงงานกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตาม MOU จำนวน 183,704 คน จำแนกตามหมวดอุตสาหกรรม ดังนี้

ccbd5b0a5d7baf64856d3645121ea_2

  • เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ จำนวน 14,951 คน
  • การประมง จำนวน 1,742 คน
  • การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน จำนวน 105 คน
  • การผลิต จำนวน 68,636 คน
  • การก่อสร้าง จำนวน 50,492 คน
  • การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ จำนวน 28,746 คน
  • การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม จำนวน 1,545 คน
  • การบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ จำนวน 790 คน
  • การบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ จำนวน 185 คน
  • การบริการชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ จำนวน 13,515 คน
  • ลูกต้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 2,997 คน

แรงงานกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติ 24 ก.ย. 67 (จดทะเบียนสถานะไม่ถูกกฎหมาย) จำนวน 109,892 คน จำแนกตามหมวดอุตสาหกรรม ดังนี้

ccbd5b0a5d7baf64856d3645121ea_4

  • เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ จำนวน 12,854 คน
  • การประมง จำนวน 392 คน
  • การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน จำนวน 30 คน
  • การผลิต จำนวน 14,101 คน
  • การก่อสร้าง จำนวน 56,453 คน
  • การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ จำนวน 12,275 คน
  • การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม จำนวน 1,785 คน
  • การบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ จำนวน 709 คน
  • การบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ จำนวน 78 คน
  • การบริการชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ จำนวน 10,002 คน
  • ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 1,213 คน

แรงงานกัมพูชา ซึ่งเป็นแรงงานตามมติ ครม. 24 ก.ย. 67 และมติ ครม. 4 ก.พ. 68 จำนวน โดยเป็นแรงงานกัมพูชากลุ่มที่ได้รับอนุญาตทำงานแล้ว 130,395 คน จำแนกตามหมวดอุตสาหกรรม ดังนี้

ccbd5b0a5d7baf64856d3645121ea_3

  • เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ จำนวน 13,557 คน
  • การประมง จำนวน 1,170 คน
  • การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน จำนวน 94 คน
  • การผลิต จำนวน 23,094 คน
  • การก่อสร้าง จำนวน 51,347 คน
  • การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ จำนวน 22,150 คน
  • การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม จำนวน 1,725 คน
  • การบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทางธุรกิจ จำนวน 1,253 คน
  • การบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ จำนวน 188 คน
  • การบริการชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ จำนวน 12,947 คน
  • ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 2,870 คน

สรุป อาชีพยอดนิยมที่คนกัมพูชาเข้ามาทำงานในประเทศไทย มีดังนี้

  • กิจการเกษตรและปศุสัตว์
  • กิจการให้บริการต่างๆ ยกเว้นรับเหมาฯ
  • กิจการก่อสร้าง
  • กิจการต่อเนื่องการเกษตร

อ่านเพิ่มเติม

Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *