ผลไม้ 1 ชนิด สรรพคุณบำรุงไต เอนไซม์พิเศษช่วยย่อยโปรตีน สายบุฟเฟต์ควรกินหลังมื้อหนัก ไทยมีขายตลอดทั้งปี
หากกำลังมองหาผลไม้ที่ช่วยบำรุงไต และปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดคือ “สับปะรด” ผลไม้รสหวานอมเปรี้ยวที่มีให้กินตลอดทั้งปีในประเทศไทย
ตามข้อมูลจากฐานข้อมูลโภชนาการของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA FoodData Central) ระบุว่า สับปะรดสด 100 กรัมมีปริมาณโซเดียมเพียง 1 มิลลิกรัม จัดอยู่ในกลุ่มผลไม้ที่มีโซเดียมต่ำมาก ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หรือผู้ที่ต้องการลดภาระการกรองของไต เพราะอาหารที่มีโซเดียมสูงมักทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำมากขึ้น และเพิ่มความดันโลหิต ซึ่งเป็นสองปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไต
มูลนิธิโรคไตแห่งชาติของสหรัฐฯ (National Kidney Foundation) แนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตบริโภคโซเดียมเพียงวันละ 1,500–2,000 มิลลิกรัม การเลือกบริโภคอาหารจากธรรมชาติที่มีโซเดียมต่ำ เช่น สับปะรด จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโซเดียมในแต่ละวัน โดยไม่ต้องลดรสชาติอาหาร
หนึ่งในสารออกฤทธิ์ที่สำคัญในสับปะรดคือ โบรมีเลน (ฺBromelain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนที่ไม่มีในผลไม้ทั่วไป คุณสมบัติในการลดการอักเสบ ยับยั้งการเกิดพังผืด และเสริมภูมิคุ้มกัน งานวิจัยพบว่า โบรมีเลนมีบทบาทในการปกป้องไตจากความเสียหาย ที่เกิดจากการอักเสบหรือสารพิษในกระบวนการเผาผลาญ โดยเฉพาะในสัตว์ทดลองที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง
นอกจากนี้ โบรมีเลนยังมีฤทธิ์ช่วย ลดความหนืดของเลือด ส่งผลให้ระบบไหลเวียนในเส้นเลือดฝอยของไตดีขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองของเสียในร่างกาย สับปะรดยังเป็นแหล่งของ วิตามินซีธรรมชาติ (ประมาณ 80 มก. ต่อ 100 กรัม) พร้อมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง เบต้าแคโรทีน ฟลาโวนอยด์ และกรดฟีนอลิก ซึ่งมีบทบาทในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เซลล์ในท่อไตเสียหาย และกระตุ้นกระบวนการเกิดพังผืดในเนื้อเยื่อไต
คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด 100 กรัม
-
พลังงาน: 50 กิโลแคลอรี
-
น้ำ: 86 กรัม
-
โซเดียม: 1 มก.
-
โพแทสเซียม: 109 มก.
-
ฟอสฟอรัส: 8 มก.
-
วิตามินซี: 47.8 มก.
-
ไฟเบอร์: 1.4 กรัม
-
น้ำตาลธรรมชาติ: 9.85 กรัม
แกนสับปะรด อย่าทิ้ง!
แกนสับปะรดแม้จะไม่อร่อยและไม่เป็นที่นิยมรับประทาน แต่เต็มไปด้วยโบรมีเลนเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติพิเศษมากกว่าส่วนเนื้อด้วยซ้ำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ช่วยย่อยโปรตีน ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ข้อควรระวังเมื่อบริโภคสับปะรด
แม้จะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม เพราะการกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดข้อเสียดังนี้
-
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน)
-
แพ้โบรมีเลน หรือมีอาการระคายเคืองในช่องปาก
-
กรดในสับปะรดอาจกัดกร่อนเคลือบฟัน และกระเพาะอาหาร อย่ากินตอนท้องว่าง
-
ปฏิกิริยาระหว่างยาในบางกรณี เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ใส่ความเห็น