KUBET – พลิกความเชื่อเดิม “มันหมู” ติดอันดับ 8 อาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก แซงบรอกโคลี

พลิกความเชื่อเดิมๆ “มันหมู” ทะยานติดอันดับ 8 อาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก แซงหน้าผักวอเตอร์เครส ส้มเขียวหวาน บรอกโคลี

หลายคนที่ใส่ใจสุขภาพมักหลีกเลี่ยง “มันหมู” เพราะเชื่อว่าเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย แต่ข้อมูลล่าสุดจาก BBC Future สื่อระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์และสุขภาพ กลับพลิกความเชื่อเดิมอย่างสิ้นเชิง

ในรายงานการจัดอันดับ “100 อาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก” ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศ พบว่า มันหมู ไม่เพียงติดอันดับ แต่ยังพุ่งทะยานขึ้นสู่ อันดับที่ 8 ด้วยคะแนนรวม 73 คะแนน แซงหน้าทั้งปลาค็อด, ผักเซเลอรี, ส้ม, หอยเชลล์ และบรอกโคลี ซึ่งเป็น อาหารที่เคยถูกมองว่า “เพื่อสุขภาพ” มาโดยตลอด

ทำไมมันหมูถึงติดอันดับ?

รายงานวิจัยฉบับนี้ใช้เวลาศึกษาหลายปี โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์อาหารกว่า 1,000 ชนิดทั่วโลก ทั้งด้านวิตามิน แร่ธาตุ โครงสร้างไขมัน และผลกระทบต่อสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ได้สร้างความประหลาดใจ เพราะ “มันหมู” ซึ่งมักถูกมองว่าไม่ดีต่อร่างกาย กลับมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น

  • เป็น แหล่งของวิตามินบีและแร่ธาตุ ที่ดี

  • มี กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fat) สูงกว่าทั้งเนยวัวและไขมันแกะ

  • หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม นักโภชนาการเน้นย้ำว่า งานวิจัยนี้ไม่ได้ส่งเสริมให้บริโภคมันหมูมากเกินไป แต่ต้องการให้คนทั่วไป เข้าใจคุณค่าที่แท้จริงของอาหารแต่ละชนิด มากกว่าการตัดสินจากภาพจำหรือความเชื่อเดิม

อาหารที่ได้คะแนนสูงสุดในรายงาน

  • อันดับ 1 อัลมอนด์ (97 คะแนน) – อุดมด้วยกรดไขมันดี ช่วยปกป้องหัวใจและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

  • อันดับ 2 น้อยหน่า (Sugar apple/Cherimoya) – เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

  • อันดับ 3 ปลากะพง (Sea bass) – แหล่งโปรตีนคุณภาพสูงและกรดไขมันโอเมก้า

  • อันดับ 4 ปลาตาเดียว (Flatfish) – แหล่งของวิตามินบี 1

  • อันดับ 5 เมล็ดเจีย (Chia seeds) – เต็มไปด้วยใยอาหาร โปรตีน และกรดไขมันอัลฟา-ไลโนเลนิก

  • อันดับ 6 เมล็ดฟักทอง (Pumpkin seeds)

  • อันดับ 7  ผักสวิสชาร์ด (Swiss chard)

  • อันดับ 8  มันหมู (Pork fat)

  • อันดับ 9  บีตกรีน หรือ ใบสีเขียวของหัวบีตรูท (Beet greens)

  • อันดับ 10 ปลากะพงแดง (Snapper)

บทสรุปจากการศึกษานี้คือ “ไม่ควรตัดสินอาหารเพียงเพราะภาพจำหรือข่าวลือ” แต่ควรเรียนรู้คุณสมบัติทางโภชนาการอย่างรอบด้านและเลือกบริโภคให้เหมาะสม

มันหมูอาจไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป ถ้ารู้จักกินอย่างพอดี และเข้าใจมันในบริบทของโภชนาการจริง ๆ

Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *