KUBET – ใครเป็นเจ้าหนี้ “กัมพูชา” เปิด 10 เจ้าหนี้รายใหญ่มี “ไทย” ติดท็อป 10

เปิด 10 ประเทศที่เป็นเจ้าหนี้ “กัมพูชา” มี “ไทย” ติดอยู่ท็อป 10 ด้วย แถมเคยให้กู้เงินไปหลายครั้ง

เพจเฟซบุ๊ก Cambonomist ซึ่งเป็นสื่อประเทศกัมพูชา เคยโพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความเกี่ยวกับหนี้สาธารณะของประเทศกัมพูชา ณ สิ้นปี 2023 พบว่า หนี้สาธารณะของกัมพูชาอยู่ที่มากกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 99.5% เป็นหนี้ต่างประเทศ หนี้ทวิภาคีของกัมพูชาอยู่ที่มากกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 64% ของหนี้ทั้งหมด

ในขณะที่หนี้พหุภาคีอยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 36% จีนยังคงเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยมีหนี้รวมมากกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 37% ของหนี้ทั้งหมด
338746

10 ประเทศ และสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ณ สิ้นปี 2023 

  1. จีน : 4.1 พันล้านดอลลาร์
  2. Asian Development Bank (ADB) : 2.3 พันล้านดอลลาร์
  3. ธนาคารโลก : 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  4. ญี่ปุ่น : 1.2 พันล้านดอลลาร์
  5. เกาหลีใต้ : 575 ล้านดอลลาร์
  6. ฝรั่งเศส : 533 ล้านดอลลาร์
  7. IFAD : 143 ล้านดอลลาร์
  8. EID : 103 ล้านดอลลาร์
  9. ไทย : 54 ล้านดอลลาร์
  10. AIIB : 33 ล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและการบริหารหนี้สินของกัมพูชา (Department of International Cooperation and Debt Management – GDICDM) เปิดเผยว่าสำหรับไตรมาสแรกของปี 2568 (Q1 2025) หนี้สาธารณะทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 12.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 99.96% ของหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ต่างประเทศ (external debt)

เปิด 10 ประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ของประเทศกัมพูชาในปี 2025

  • จีน :  3.981 พันล้านดอลลาร์
  • ADB (ธนาคารพัฒนาเอเชีย) : 2.581 พันล้านดอลลาร์
  • ธนาคารโลก : 1.720 พันล้านดอลลาร์
  • ญี่ปุ่น : 1.328 พันล้านดอลลาร์
  • เกาหลีใต้ : 689 ล้านดอลลาร์
  • ฝรั่งเศส : 686 ล้านดอลลาร์
  • IFAD : 170 ล้านดอลลาร์
  • AIIB : 53.9 ล้านดอลลาร์
  • ประเทศไทย : 53.15 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.724 พันล้านบาท)
  • เยอรมนี : 15 ล้านดอลลาร์
  • เวียดนาม : 7.29 ล้านดอลลาร์
  • อินเดีย : 6.38 ล้านดอลลาร์

จะสังเกตได้ว่า ยอดหนี้ของจีนที่มีสัดส่วนลดลงอาจมีจากการที่กัมพูชาได้ทยอยใช้หนี้ให้กับจีนไปแล้วราว 117 ล้านดอลลาร์ เมื่อไตรมาสแรกของปี 2568 ทำให้ยอดเงินกู้คงค้างทั้งหมดอยู่ที่ 3.98 พันล้านดอลลาร์ จากเดิมที่มียอดหนี้คงค้างอยู่ที่กว่า 4 พันล้านดอลลาร์

สอดคล้องกับนักวิเคราะห์เศรษฐกิจและสังคมของประเทศกัมพูชา ที่เคยให้ข้อมูลกับสื่ออย่าง Kiripost ของประเทศกัมพูชาว่า การกู้เงินเพื่อพัฒนาประเทศ หรือขยายการเติบโตไม่ใช่เรื่องเลวร้าย และเป็นสัญญาณที่ดีเมื่อสามารถชำระเงินคืนได้ ซึ่งปัจจุบัน กัมพูชา ไม่ได้กู้เงินจากจีน ถือเป็นวิธีที่ดีในการปรับสมดุลงบประมาณแผ่นดิน อีกทั้งการบริหารหนี้สาธารณะอย่างรอบคอบเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการรักษาความรอบคอบทางการคลังและเสถียรภาพในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม

Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *